กล่องข้อความ: 		7-50100-001-234  		  ชื่อพื้นเมือง	:  หูกวาง,ดัดมือ,โคน  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Terminalia catappa L.  ชื่อวงศ์	:  COMBRETACEAE  ชื่อสามัญ	:  Indian Almond  ประโยชน์	:  เปลือก - ใช้เปลือกต้น ซึ่งมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บิด ผลเป็นยาถ่าย ใบขับเหงื่อ น้ำมันที่บีบได้จากเมล็ดใช้รักษา โรคเรื้อน   ขับเหงื่อ แก้ต่อมทอลซิลอักเสบ แก้โรคไขข้ออักเสบ

บริเวณที่พบ : อาคาร 1, 2 คหกรรม, อาคารวัฒนา
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ประดับให้ร่มเงา
ชื่ออื่น : ดัดมือ หลุมปัง
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดใหญ่  ผลัดใบ
ต้น :
ไม้ต้นขนาดใหญ่  ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างในแนวราบ  แตกกิ่งรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ เปลือกเรียบสีเทา
ใบ : ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง  ใบรูปไข่กลับ   กว้าง 8-15 เซนติเมตร  ยาว 12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ
โคนสอบแคบ มีต่อม 1 คู่  ขอบใบเรียบ  แผ่นใบหนา  ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเขียวอ่อน
ดอก : สีขาวนวล  ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดตามซอกใบที่ปลายกิ่ง    ช่อดอกเป็นแท่งยาว  8-12เซนติเมตร
โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก ดอกขนาดเล็ก
ผล : ผลสด รูปไข่หรือรูปรีป้อมๆแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร สีแดงอมเหลือง เมื่อแก่สีดำคล้ำมีเมล็ดเดียวเเข็ง
ประโยชน์ : เปลือกและผลมีรสฝาดมาก ใช้แก้ท้องเสีย ฟอกหนังสัตว์ ทำหมึก เมล็ดในผลรับประทานได้ให้น้ำมันคล้ายน้ำมันอัลมอนด์
ออกดอก : เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน และสิงหาคม - ตุลาคม
ขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด
เป็นต้นไม้ : ประจำจังหวัด ตราด

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ผล
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    หูกวาง , ดัดมือ , โคน    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-234